วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของสิ่งแวดล้อม


ความหมายของสิ่งแวดล้อม


สิ่งแวดล้อม (environment) คือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 
1. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ หรือสิ่งมีชีวิต ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ
2. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือสิ่งไม่มีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด แร่ธาตุ เป็นต้น
2.2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ อาคารบ้านเรือน วัด โรงเรียน ถนน สะพาน สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น

ความหมายของระบบนิเวศ

ความหมายของระบบนิเวศ






ระบบนิเวศ(ecosystem) คือ ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ กันนี้จะมี 2 ลักษณะ คือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยรวมกันในแหล่งที่ อยู่นั้น จัดเป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ แสง สว่าง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ทั้ง 2 ลักษณะดังกล่าว จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในระบบ นิเวศทุกระบบต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ อย่างโดดเดี่ยวได้ หากสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งถูกรบกวนก็จะ ส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น และจะส่งผลถึง กันและกันทั้งระบบ

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ


ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ



ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ 
        ในระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ดิน น้ำ แสงสว่าง อากาศ แร่ธาตุ ความชื้น อุณหภูมิ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ระบบนิเวศที่มีความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตจะก่อให้เกิดสมดุลในธรรมชาติ

แร่ธาตุและก๊าซ


แร่ธาตุและก๊าซ



พืชและสัตว์นำแร่ธาตุและก๊าซต่างๆ ไปใช้ในการสร้างอาหารและโครงสร้างของร่างกาย ความต้องการแร่ธาตุและก๊าซของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกัน พืชต้องการออกซิเจนต่ำกว่าสัตว์เพราะสัตว์มีการเคลื่อนไหวกว่าพืช พืชต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าสัตว์เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
ก๊าซและแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ออกซิเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ ซึ่งจะมีอยู่ในระบบนิเวศในปริมาณที่แตกต่างกัน ในดินจะมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชพวกไนโตรเจนฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในปริมาณสูง และปริมาณของแร่ธาตุดังกล่าวจะแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ด้วย จึงทำให้ลักษณะเฉพาะของพืชและสัตว์มีความแตกต่างกันด้วย




แสงสว่าง

แสงสว่าง





แสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ปริมาณแสงในธรรมชาติแต่ละแห่งจะแตกต่างกันทำให้สิ่งมีชีวิตในแต่ละแห่งแตกต่างกันไป พืชต้องการแสงจากดวงอาทิตย์มากกว่าสัตว์ พืชใช้แสงเป็นพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างสารอาหาร สารอาหารสร้างขึ้นจะถ่ายทอดไปยังสัตว์ในห่วงโซ่อาหาร ความต้องการแสงของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกันทำให้พืชที่มีแสงสว่างส่องถึง จะมีความหนาแน่นมากกว่าบริเวณที่มีแสงส่องถึงน้อย พืชแต่ละชนิดต้องการแสงในปริมาณแตกต่างกัน
แสงจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ด้วยเช่นกัน สัตว์บางชนิดต้องการแสงน้อย มักอาศัยอยู่ในร่มเงาหรือในที่มืด เช่น ตัวอ่อนของแมลงในทะเลทรายซึ่งมีแสงมากในเวลากลางวัน สัตว์จะหลบซอนตัวและจะออกหากินในเวลากลางคืน ในทะเลลึกจะมีแสงสว่างน้อยมากหรือไม่มีเลย สัตว์จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่กำเนิดแสงได้เองเป็นต้น

อุณหภูมิ







สิ่งมีชีวิตจะเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับตัวเอง โดยปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 10-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิบนพื้นดินจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในน้ำ จึงทำให้สิ่งมีชีวิตบนพื้นดินมีการปรับตัวในหลายลักษณะ เช่น การอพยพหนีหนาวของนกนางแอ่นจากประเทศจีนมาหากินในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว การจำศีลของกบเพื่อหนีร้อนหรือหนีหนาว


ความชื้น




ปริมาณของไอน้ำที่อยู่ในอากาศ จะเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่ ฤดูกาล เช่น ในเขตร้อนปริมาณความชื้นจะสูง เนื่องจากมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ในเขตหนาวจะมีความชื้นน้อย ความชื้นจะมีผลโดยตรงต่อสมดุลของน้ำในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ทำให้ปริมาณ ชนิด และการกระจายของสิ่งมีชีวิตในเขตร้อนมีความหลากหลายมากกว่าในเขตหนาว