วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556



การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศ



การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้อย่างสมเหตุสมผล เพื่อการมีใช้ตลอดไปหลักในการอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
ระบบนิเวศ หมายถึง โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่นักนิเวศวิทยาได้นำมาใช้ในการมองโลกส่วนย่อย ๆ ของโลกเพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นไปบนโลกนี้ได้ดีขึ้น

    การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต คุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหลัก 4 ประการ

               1. ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ                            
               2. ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
               3. ปัญหาระบบนิเวศถูกทำลาย
               4. ปัญหามลพิษทางสังคม

ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นที่จะต้องหาทางแก้ไขเพราะทุกปัญหาเกี่ยวพันกันอย่างเป็นระบบและนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยชะลอหรือลดขนาดของปัญหาให้เบาบางลงได้บ้าง

หลักการที่ 1 การใช้แบบยั่งยืน  ทรัพยากรทุกประเภทต้องมีแผนการใช้แบบยั่งยืน (Sustainable Utilization) ซึ่งต้องวางแผนการใช้ตามสมบัติเฉพาะตัวของทรัพยากร พร้อมทั้งเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมกับชนิดทรัพยากร ปริมาณการเก็บเกี่ยวเพื่อการใช้ ช่วงเวลาที่จะนำไปใช้ และการกำจัด/บำบัดของเสียและมลพิษให้หมดไปหรือเหลือน้อยจนไม่มีพิษภัย

หลักการที่ 2 การฟื้นฟูสิ่งเสื่อมโทรม   ทรัพยากรธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เมื่อมีการใช้แล้วย่อมเกิดการเสื่อมโทรมเพราะการใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม เก็บเกี่ยวมากเกินความสามารถในการปรับตัวของระบบ มีสารพิษเกิดขึ้น เก็บเกี่ยวบ่อยเกินไปและไม่ถูกต้องตามกาลเวลา จำเป็นต้องทำการฟื้นฟูให้ดีเสียก่อน จนทรัพยากร/สิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ตั้งตัวได้ จึงสามารถนำไปใช้ได้ในโอกาสต่อไป อาจใช้เวลาในการฟื้นฟู การกำจัด การบำบัดหรือการทดแทนเป็นปี

หลักการที่ 3 การสงวนของหายาก   ทรัพยากรบางชนิดมีการใช้มากเกินไปหรือมีการแปรสภาพเป็นสิ่งอื่นทำให้บางชนิดของทรัพยากร/สิ่งแวดล้อมหายาก ถ้าปล่อยให้มีการใช้เกิดขึ้นแล้ว อาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ จำเป็นต้องสงวนหรือเก็บไว้ เพื่อเป็นแม่พันธุ์หรือเป็นตัวแม่บทในการผลิตให้มากขึ้นจนแน่ใจว่าได้ผลผลิตมากพอแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น
1. ทำให้ปราศจากมลภาวะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ พืชและสัตว์
2. ควบคุมและป้องกันมิให้เกิดปัญญามลพิษจากขบวนการอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและชุมชน
3.บริเวณที่มีการสารมลพิษแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องรับการแก้ไขและกำจัดให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว
4.ให้การศึกษาต่อประชาชนถึงวิธีการควบคุมและป้องกัน  รวมทั้งผลเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรประเภทนี้
5. จัดการให้มีกฎหมายควบคุมการกระทำใด ๆ ที่จะมีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้
1. จัดระบบนิเวศให้มีทั้งชนิดและปริมาณให้ได้สัดส่วนในเกณฑ์มาตรฐานตามธรรมชาติ
2.ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์นั้น จะต้องใช้เฉพาะส่วนที่งอกเงยหรือส่วนที่เพิ่มพูนเท่านั้น
3. มีการควบคุมและป้องกันรักษาทัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ให้มีศักยภาพในการให้ผลิตผล
4. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต
5. ยึดหลักการอนุรักษ์วิทยาเป็นสำคัญ

หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
1. ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำทรัพยากรประเภทนี้มาใช้ลดการสูญเสีย
2. ใช้ทรัพยากรประเภทนี้เท่าที่จำเป็น
3. นำส่วนที่เสียกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น การ Recycleขยะ
4. ควบคุมและป้องกันของเสียที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ 
ปัญหาที่เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นปัญหา ที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ต่อแหล่งธรรมชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม มากกว่าเกิดจากการกระทำของธรรมชาติ ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ จึงต้องดำเนินการโดยมนุษย์เอง โดยจะต้อง ให้มีการจัดการ ในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้แหล่งธรรมชาติ คงไว้ซึ่งคุณค่า ความสำคัญ และให้การเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา มีดังนี้
1. ให้หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน
วางแผนในการดำเนินการป้องกัน สงวน รักษาและอนุรักษ์ไว้ ซึ่งคุณค่าความสำคัญ และสภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ อย่างจริงจัง ทั้งนี้ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จัดทำหลักเกณฑ์การพัฒนาเทคนิควิธีการประเมินคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและกำหนดมาตรการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์แต่ละประเภทให้ชัดเจนรวมทั้งจัดทำแนวทางขอบเขตการศึกษาการจัดทำแผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติเฉพาะแหล่งให้หน่วยงาน ท้องถิ่นที่รับผิดชอบ แหล่งธรรมชาตินั้นๆ นำไปใช้ในการวางแผนการจัดการพื้นที่แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์
2.ควรนำกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมาบังคับใช้อย่างจริงจัง หรือเร่งการออกหรือปรับปรุงแก้ไขและการบังคับใช้กฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ นอกจากนั้นหากพื้นที่แหล่งธรรมชาติที่สำคัญมีคุณค่าสูงหาได้ยากยิ่ง และมีปัญหาเร่งด่วนในการป้องกันแก้ไขปัญหา ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม รีบดำเนินการจัดทำแผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และกำหนดการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
3.เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เข้าไปใช้ประโยชน์ให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ เพื่อให้มีการหลีกเลี่ยง การใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่ายิ่ง และควบคุมไม่ให้มีการดัดแปลง ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์
4.ควรให้มีการจัดตั้งเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบสภาพแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ และเสนอแนะ แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์เพิ่มเติม รวมทั้งสำนักงานฯ ควรปรับปรุงระบบฐานข้อมูลแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และทันสมัย มีความสามารถติดต่อประสานงานกับเครือข่ายท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้น





                   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น