วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของสิ่งแวดล้อม


ความหมายของสิ่งแวดล้อม


สิ่งแวดล้อม (environment) คือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 
1. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ หรือสิ่งมีชีวิต ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ
2. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือสิ่งไม่มีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด แร่ธาตุ เป็นต้น
2.2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ อาคารบ้านเรือน วัด โรงเรียน ถนน สะพาน สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น

ความหมายของระบบนิเวศ

ความหมายของระบบนิเวศ






ระบบนิเวศ(ecosystem) คือ ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ กันนี้จะมี 2 ลักษณะ คือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยรวมกันในแหล่งที่ อยู่นั้น จัดเป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ แสง สว่าง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ทั้ง 2 ลักษณะดังกล่าว จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในระบบ นิเวศทุกระบบต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ อย่างโดดเดี่ยวได้ หากสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งถูกรบกวนก็จะ ส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น และจะส่งผลถึง กันและกันทั้งระบบ

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ


ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ



ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ 
        ในระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ดิน น้ำ แสงสว่าง อากาศ แร่ธาตุ ความชื้น อุณหภูมิ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ระบบนิเวศที่มีความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตจะก่อให้เกิดสมดุลในธรรมชาติ

แร่ธาตุและก๊าซ


แร่ธาตุและก๊าซ



พืชและสัตว์นำแร่ธาตุและก๊าซต่างๆ ไปใช้ในการสร้างอาหารและโครงสร้างของร่างกาย ความต้องการแร่ธาตุและก๊าซของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกัน พืชต้องการออกซิเจนต่ำกว่าสัตว์เพราะสัตว์มีการเคลื่อนไหวกว่าพืช พืชต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าสัตว์เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
ก๊าซและแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ออกซิเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ ซึ่งจะมีอยู่ในระบบนิเวศในปริมาณที่แตกต่างกัน ในดินจะมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชพวกไนโตรเจนฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในปริมาณสูง และปริมาณของแร่ธาตุดังกล่าวจะแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ด้วย จึงทำให้ลักษณะเฉพาะของพืชและสัตว์มีความแตกต่างกันด้วย




แสงสว่าง

แสงสว่าง





แสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ปริมาณแสงในธรรมชาติแต่ละแห่งจะแตกต่างกันทำให้สิ่งมีชีวิตในแต่ละแห่งแตกต่างกันไป พืชต้องการแสงจากดวงอาทิตย์มากกว่าสัตว์ พืชใช้แสงเป็นพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างสารอาหาร สารอาหารสร้างขึ้นจะถ่ายทอดไปยังสัตว์ในห่วงโซ่อาหาร ความต้องการแสงของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกันทำให้พืชที่มีแสงสว่างส่องถึง จะมีความหนาแน่นมากกว่าบริเวณที่มีแสงส่องถึงน้อย พืชแต่ละชนิดต้องการแสงในปริมาณแตกต่างกัน
แสงจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ด้วยเช่นกัน สัตว์บางชนิดต้องการแสงน้อย มักอาศัยอยู่ในร่มเงาหรือในที่มืด เช่น ตัวอ่อนของแมลงในทะเลทรายซึ่งมีแสงมากในเวลากลางวัน สัตว์จะหลบซอนตัวและจะออกหากินในเวลากลางคืน ในทะเลลึกจะมีแสงสว่างน้อยมากหรือไม่มีเลย สัตว์จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่กำเนิดแสงได้เองเป็นต้น

อุณหภูมิ







สิ่งมีชีวิตจะเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับตัวเอง โดยปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 10-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิบนพื้นดินจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในน้ำ จึงทำให้สิ่งมีชีวิตบนพื้นดินมีการปรับตัวในหลายลักษณะ เช่น การอพยพหนีหนาวของนกนางแอ่นจากประเทศจีนมาหากินในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว การจำศีลของกบเพื่อหนีร้อนหรือหนีหนาว


ความชื้น




ปริมาณของไอน้ำที่อยู่ในอากาศ จะเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่ ฤดูกาล เช่น ในเขตร้อนปริมาณความชื้นจะสูง เนื่องจากมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ในเขตหนาวจะมีความชื้นน้อย ความชื้นจะมีผลโดยตรงต่อสมดุลของน้ำในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ทำให้ปริมาณ ชนิด และการกระจายของสิ่งมีชีวิตในเขตร้อนมีความหลากหลายมากกว่าในเขตหนาว


ความเค็ม







ความเค็มของดินและน้ำ เป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ พืชบางชนิดไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ในดินเค็มแต่บางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดี เช่น ผักบุ้งทะเล ในปัจจุบันพื้นที่ชายทะเลบางพื้นที่ประสบปัญหาเรื่องดินเค็ม อันเนื่องมาจากการทำนากุ้ง การทำนาเกลือ


กระแสน้ำ




กระแสน้ำเป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ความเข้มข้น ของก๊าซ และอาหารที่ละลายหรือลอยอยู่ในน้ำ พฤติกรรม จำนวนของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำ ความเข้มข้นของก๊าซ และอาหารที่ละลายหรือลอยอยู่ในน้ำ พฤติกรรม จำนวนของสิ่งมีชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลจะแตกต่างกัน


การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศ



การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้อย่างสมเหตุสมผล เพื่อการมีใช้ตลอดไปหลักในการอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
ระบบนิเวศ หมายถึง โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่นักนิเวศวิทยาได้นำมาใช้ในการมองโลกส่วนย่อย ๆ ของโลกเพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นไปบนโลกนี้ได้ดีขึ้น

    การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต คุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหลัก 4 ประการ

               1. ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ                            
               2. ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
               3. ปัญหาระบบนิเวศถูกทำลาย
               4. ปัญหามลพิษทางสังคม

ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นที่จะต้องหาทางแก้ไขเพราะทุกปัญหาเกี่ยวพันกันอย่างเป็นระบบและนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยชะลอหรือลดขนาดของปัญหาให้เบาบางลงได้บ้าง

หลักการที่ 1 การใช้แบบยั่งยืน  ทรัพยากรทุกประเภทต้องมีแผนการใช้แบบยั่งยืน (Sustainable Utilization) ซึ่งต้องวางแผนการใช้ตามสมบัติเฉพาะตัวของทรัพยากร พร้อมทั้งเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมกับชนิดทรัพยากร ปริมาณการเก็บเกี่ยวเพื่อการใช้ ช่วงเวลาที่จะนำไปใช้ และการกำจัด/บำบัดของเสียและมลพิษให้หมดไปหรือเหลือน้อยจนไม่มีพิษภัย

หลักการที่ 2 การฟื้นฟูสิ่งเสื่อมโทรม   ทรัพยากรธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เมื่อมีการใช้แล้วย่อมเกิดการเสื่อมโทรมเพราะการใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม เก็บเกี่ยวมากเกินความสามารถในการปรับตัวของระบบ มีสารพิษเกิดขึ้น เก็บเกี่ยวบ่อยเกินไปและไม่ถูกต้องตามกาลเวลา จำเป็นต้องทำการฟื้นฟูให้ดีเสียก่อน จนทรัพยากร/สิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ตั้งตัวได้ จึงสามารถนำไปใช้ได้ในโอกาสต่อไป อาจใช้เวลาในการฟื้นฟู การกำจัด การบำบัดหรือการทดแทนเป็นปี

หลักการที่ 3 การสงวนของหายาก   ทรัพยากรบางชนิดมีการใช้มากเกินไปหรือมีการแปรสภาพเป็นสิ่งอื่นทำให้บางชนิดของทรัพยากร/สิ่งแวดล้อมหายาก ถ้าปล่อยให้มีการใช้เกิดขึ้นแล้ว อาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ จำเป็นต้องสงวนหรือเก็บไว้ เพื่อเป็นแม่พันธุ์หรือเป็นตัวแม่บทในการผลิตให้มากขึ้นจนแน่ใจว่าได้ผลผลิตมากพอแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น
1. ทำให้ปราศจากมลภาวะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ พืชและสัตว์
2. ควบคุมและป้องกันมิให้เกิดปัญญามลพิษจากขบวนการอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและชุมชน
3.บริเวณที่มีการสารมลพิษแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องรับการแก้ไขและกำจัดให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว
4.ให้การศึกษาต่อประชาชนถึงวิธีการควบคุมและป้องกัน  รวมทั้งผลเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรประเภทนี้
5. จัดการให้มีกฎหมายควบคุมการกระทำใด ๆ ที่จะมีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้
1. จัดระบบนิเวศให้มีทั้งชนิดและปริมาณให้ได้สัดส่วนในเกณฑ์มาตรฐานตามธรรมชาติ
2.ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์นั้น จะต้องใช้เฉพาะส่วนที่งอกเงยหรือส่วนที่เพิ่มพูนเท่านั้น
3. มีการควบคุมและป้องกันรักษาทัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ให้มีศักยภาพในการให้ผลิตผล
4. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต
5. ยึดหลักการอนุรักษ์วิทยาเป็นสำคัญ

หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
1. ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำทรัพยากรประเภทนี้มาใช้ลดการสูญเสีย
2. ใช้ทรัพยากรประเภทนี้เท่าที่จำเป็น
3. นำส่วนที่เสียกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น การ Recycleขยะ
4. ควบคุมและป้องกันของเสียที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ 
ปัญหาที่เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นปัญหา ที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ต่อแหล่งธรรมชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม มากกว่าเกิดจากการกระทำของธรรมชาติ ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ จึงต้องดำเนินการโดยมนุษย์เอง โดยจะต้อง ให้มีการจัดการ ในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้แหล่งธรรมชาติ คงไว้ซึ่งคุณค่า ความสำคัญ และให้การเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา มีดังนี้
1. ให้หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน
วางแผนในการดำเนินการป้องกัน สงวน รักษาและอนุรักษ์ไว้ ซึ่งคุณค่าความสำคัญ และสภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ อย่างจริงจัง ทั้งนี้ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จัดทำหลักเกณฑ์การพัฒนาเทคนิควิธีการประเมินคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและกำหนดมาตรการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์แต่ละประเภทให้ชัดเจนรวมทั้งจัดทำแนวทางขอบเขตการศึกษาการจัดทำแผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติเฉพาะแหล่งให้หน่วยงาน ท้องถิ่นที่รับผิดชอบ แหล่งธรรมชาตินั้นๆ นำไปใช้ในการวางแผนการจัดการพื้นที่แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์
2.ควรนำกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมาบังคับใช้อย่างจริงจัง หรือเร่งการออกหรือปรับปรุงแก้ไขและการบังคับใช้กฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ นอกจากนั้นหากพื้นที่แหล่งธรรมชาติที่สำคัญมีคุณค่าสูงหาได้ยากยิ่ง และมีปัญหาเร่งด่วนในการป้องกันแก้ไขปัญหา ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม รีบดำเนินการจัดทำแผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และกำหนดการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
3.เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เข้าไปใช้ประโยชน์ให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ เพื่อให้มีการหลีกเลี่ยง การใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่ายิ่ง และควบคุมไม่ให้มีการดัดแปลง ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์
4.ควรให้มีการจัดตั้งเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบสภาพแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ และเสนอแนะ แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์เพิ่มเติม รวมทั้งสำนักงานฯ ควรปรับปรุงระบบฐานข้อมูลแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และทันสมัย มีความสามารถติดต่อประสานงานกับเครือข่ายท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้น





                   




ความสัมพันธ์ด้านผลประโยชน์





ความสัมพันธ์ด้านผลประโยชน์
1 ภาวะปรสิต (parasitism) 
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ อีกฝ่ายเสียประโยชน์ โดยฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จะอาศัยอยู่ในร่างกายของผู้เสียประโยชน์ เรียกว่าสิ่งมีชีวิตที่ได้รับประโยชน์ว่า ปรสิต (parasite) และเรียกสิ่งมีชีวิตที่เสียประโยชน์ว่า ผู้ถูกอาศัย (host) โดยปรสิตจะแย่งอาหารหรือกินบางส่วนของร่างกายผู้ถูกอาศัย เช่น กาฝากบนต้นไม้ กาฝากเป็นปรสิตได้รับอาหารจากต้นไม้ที่อยู่อาศัย ฝ่ายต้นไม้จะเสียประโยชน์เพราะถูกแย่งอาหารไป
2 ภาวะอิงอาศัย (commensalism) 
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น เฟิร์น กล้วยไม้ พลูด่าง ที่เกาะบนเปลือกต้นไม้ จะใช้ต้นไม้เป็นแหล่งที่อยู่และให้ความชื้นโดยไม่เบียดเบียนอาหารจากต้นไม้เลย
3 ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (protocooperation) 
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันตางฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่เมื่อแยกออกจากกันแต่ละฝ่ายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง เช่น ผีเสื้อกับดอกไม้ นกเอี้ยงบนหลังควาย มดดำกับเพลี้ย ซีแอนนีโมนีที่เกาะอยู่บนหลังปูเสฉวน เป็นต้น
4 ภาวะพึ่งพากัน (mutualism) 
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทั้งสองฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยอยู่ด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน หากแยกออกจากกันไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น แบคทีเรียไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว โดยแบคทีเรียไรโซเบียมจะจับไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรด ส่วนแบคทีเรียได้พลังงานจากการสลายสารอาหารที่อยู่ในรากพืช รากับสาหร่ายที่อยู่รวมกันเป็นไลเคน โดยสาหร่ายสร้างอาหารได้เองแต่ต้องอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ส่วนราก็อาศัยดูดอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้นและให้ความชื้นกับสาหร่าย
5 ภาวะมีการย่อยสลาย (saprophuistm) 
เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้รับประโยชน์จากซากของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น แบคทเรีย รา และเห็ด